พื้นผิวของฉลากบาร์โค้ดหรือสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด มีความแตกต่างกันอย่างไร

 

เราคงต้องรู้ก่อนว่า พื้นผิวฉลากบาร์โค้ด ที่เราจะนำไปใช้งาน มีอยู่กี่แบบกี่ชนิด   ทั้งนี้เพื่อให้เลือกให้ถูกต้องแก่การนำไปใช้งาน

พื้นผิวของฉลากบาร์โค้ดหรือสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด มีอยู่ 8 ชนิด

1 ฉลากบาร์โค้ดหรือสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด ขาวด้าน    เป็นเนื้อสติ๊กเกอร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากชนิดหนึ่ง ใช้ได้กับงานหลากหลายรูปแบบ  คุณสมบัติคล้ายกับสติ๊กเกอร์กึ่งมันกึ่งด้าน แต่จะมีความแตกต่างตรงที่จะไม่มีความมันเงา นิยมใช้กับ หมึกพิมพ์ริบบอนเนื้อ wax เช่นเดียวกัน

 

2 ฉลากบาร์โค้ดหรือสติ๊กเกอร์กึ่งมันกึ่งด้าน   เป็นเนื้อสติ๊กเกอร์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย  ราคาไม่สูง  ใช้ในงานหลากหลายประเภท  เช่น การนำไปทำการติดราคาและทำรายละเอียดของสินค้า แต่ต้องระวัง ไม่ให้งานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความร้อนหรือความชื้นมากเกินไป  นิยมใช้กันมากที่สุดกับหมึกพิมพ์ริบบอนเนื้อ wax เนื่องจากมีราคาถูกที่สุดเช่นกัน เพื่อลดต้นทุนสินค้าให้ต่ำที่สุด

 

3 ฉลากบาร์โค้ดหรือสติ๊กเกอร์ขาวมัน (อาร์ตมัน)  พื้นผิวหรือเนื้อสติ๊กเกอร์จะมีความมันเงา และมีความคมชัดสวยงาม ใช้งานได้กับสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นไม่มากนัก  เหมาะกับการใช้ในงานสำหรับสินค้าต่างๆที่ต้องการความสวยงาม นิยมใช้กับหมึกพิมพ์ ริบบอนสองประเภท คือเนื้อ wax และเนื้อ wax/resin ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานของลูกค้า

 

 

4 ฉลากบาร์โค้ดหรือสติ๊กเกอร์ Direct Thermal พื้นผิวสติ๊กเกอร์เป็นแบบความร้อนที่ไม่ต้องใช้ตัวกลาง (หมึกพิมพ์ริบบอน) ในการพิมพ์ ตัวกระดาษจะมีเคมีที่จะเกิดสีเมื่อโดนความร้อนในปริมาณที่พอเหมาะ โดยหัวพิมพ์ซึ่งมีตัวกำเนิดความร้อนจะทำหน้าที่ส่งความร้อนมาที่กระดาษ ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี และทำให้สีของกระดาษเปลี่ยนแปลง ฉลากบาร์โค้ดหรือสติ๊กเกอร์ชนิดนี้จะมีราคาสูงกว่าเนื้อสติ๊กเกอร์ทั่วไป เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้หมึกพิมพ์ริบบอน นิยมใช้ในงานที่มีอายุการใช้งานสั้น เช่น สินค้าบริโภคต่างๆ เพราะเนื้อสติ๊กเกอร์จะมีผลกระทบเมื่อโดนความร้อน หรือแสง UV

5 ฉลากบาร์โค้ดหรือสติ๊กเกอร์เนื้อ PP Mat (Upo) พื้นผิวสติ๊กเกอร์แบบชนิดพลาสติก มีความทนทานสูง คงทนต่อการฉีกขาด และกันน้ำได้ มีทั้งชนิดเนื้อพื้นผิวมันเงาและเนื้อพื้นผิวขาวนวล แต่ราคาค่อนข้างสูง  เนื่องจากใช้วัตถุดิบที่ไม่ใช่กระดาษ เหมาะกับงานอุตสาหกรรมอาหาร งานห้องเย็น งานทรัพย์สิน นิยมใช้กับหมึกพิมพ์ริบบอนสองประเภท คือเนื้อ wax/resin และ resin ขึ้นอยู่กับความต้องการการใช้งาน

6 ฉลากบาร์โค้ดหรือสติ๊กเกอร์ฟอยล์  พื้นผิวสติ๊กเกอร์ มีเนื้อหนาสีเทา ราคาค่อนข้างสูง เหมาะกับงานที่มีความต้องการแบบเจาะจงเฉพาะ  และยังเป็นสติ๊กเกอร์ที่มีคุณสมบัติสามารถประยุกต์ใช้ได้กับงานที่ต้องการความคงทน เช่น งานทรัพย์สิน, งานอุตสาหกรรมเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นงานที่ต้องการสติ๊กเกอร์ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ทนความร้อนได้สูง ขูดไม่ออก นิยมใช้คู่กันกับหมึกพิมพ์ริบบอนเนื้อ resin เนื่องจากเป็นริบบอนที่ทนต่อการขูดขีดเช่นเดียวกัน

 

 

7 ฉลากบาร์โค้ดหรือสติ๊กเกอร์เนื้อขาวนวล (TTR Transfer) พื้นผิวสติ๊กเกอร์มีลักษณะสีขาวนวล เนื้อสติ๊กเกอร์เรียบเป็นพิเศษ จึงมีความสวยงาม เนื่องจากความเรียบเนียนของพื้นผิว จึงทำให้เหมาะกับงานพิมพ์สติ๊กเกอร์แบบ pre-printed หรือสติ๊กเกอร์ที่มีการสั่งพิมพ์สีจากทางโรงงาน สิ่งที่ได้ตามมาคือความคมชัด สวยงาม นิยมใช้กับหมึกพิมพ์ริบบอนสองประเภท คือเนื้อ wax ธรรมดา และ เนื้อ wax/resin ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานของลูกค้า

8 ฉลากบาร์โค้ดหรือสติ๊กเกอร์เนื้อ พีวีซี (PVC) ใส  พื้นผิวเนื้อสติ๊กเกอร์เป็นแบบชนิดพลาสติกใส สามารถมองทะลุได้ มีความทนทานสูง และฉีกไม่ขาด และยังมีความสามารถในการกันน้ำได้ แต่มีราคาค่อนข้างสูงเนื่องจากวัตถุดิบไม่ใช่กระดาษ เหมาะกับงานเครื่องสำอาง ฉลากสินค้าที่ต้องการความหรูหรา นิยมใช้กับหมึกพิมพ์ริบบอนสองประเภท คือเนื้อ wax/resin และ resin ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานของลูกค้า

 

 

นั่นคือสิ่งที่เราควรรู้ ก่อนการสั่งพิมพ์ ฉลากบาร์โค้ดหรือสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด เพราะนั่นหมายความว่า งานของคุณจะได้คุณภาพตามที่ต้องการและการนำไปใช้

ทั้งหมดนี้สามารถให้คำปรึกษาได้ที่ Labe-thai (ลาเบล ไทย) ทีมงานพร้อมรอรับสาย ที่โทร 02-936 8440-1

บาร์โค้ดยังมีเรื่องราวต่อที่นี่